The Kingdom of Aksum/อาณาจักรอักซุม

The Kingdom of Aksum
While migrations were taking place in the southern half of Africa, they were also taking place along the east coast. Arab peoples crossed the Red Sea into Africa perhaps as early as 1000 B.C. There they intermarried with Kushite herders and farmers and passed along their written language, Geez. The Arabs also shared their skills of working stone and building dams and aqueducts. This blended group of Africans and Arabs would form the basis of a new and powerful trading kingdom.

The Rise of the Kingdom of Aksum
The East African kingdom of Kush became powerful enough to push north and conquer Egypt. During the next century, fierce Assyrians swept into Egypt and drove the Kushite pharaohs south. However, Kush remained a powerful kingdom for over 1,000 years. Finally, a more powerful kingdom arose and conquered Kush. That kingdom was Aksum. It was located south of Kush on a rugged plateau on the Red Sea, in what are now the countries of Eritrea and Ethiopia.

In this area of Africa, sometimes called the Horn of Africa, Arab traders from across the Red Sea established trading settlements. These traders were seeking ivory to trade in Persia and farther east in the Indian Ocean trade. They brought silks, textiles, and spices from eastern trade routes. Eventually, the trading settlements became colonies of farmers and traders. Trade with Mediterranean countries also flowed into seaports located here.

The Origins of Aksum
A legend traces the founding of the kingdom of Aksum and the Ethiopian royal dynasty to the son of King Solomon (of ancient Israel) and of the Queen of Sheba, (a country in southern Arabia). That dynasty lasted into the 20th century, until the last ruler, Haile Selassie, died in 1975.

The first mention of Aksum was in a Greek guidebook written around A.D. 100, Periplus of the Erythraean Sea. It describes Zoskales, thought to be the first king of Aksum. He was a stickler about his possessions and always [greedy] for getting more, but in other respects a fine person and well versed in reading and writing Greek.” Under Zoskales and other rulers, Aksum seized areas along the Red Sea and the Blue Nile in Africa. The rulers also crossed the Red Sea and took control of lands on the southwestern Arabian Peninsula.

           
Aksum Controls International Trade
Aksums location and expansion made it a hub for caravan routes to Egypt and Meroë. Access to sea trade on the Mediterranean Sea and Indian Ocean helped Aksum become an international trading power. Traders from Egypt, Arabia, Persia, India, and the Roman Empire crowded Aksums chief seaport, Adulis, near present-
day Massawa.

Aksumite merchants traded necessities such as salt and luxuries such as rhinoceros horns, tortoise shells, ivory, emeralds, and gold. In return, they chose from items such as imported cloth, glass, olive oil, wine, brass, iron, and copper.

อาณาจักรอักซุม
            ในขณะที่มีการอพยพเกิดขึ้นในส่วนตอนใต้ของแอฟริกา ก็ยังมีการอพยพเกิดขึ้นตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ผู้คนชาวอาหรับข้ามทะเลแดงไปยังทวีปแอฟริกา บางทีน่าจะอยู่ประมาณต้นศตวรรษที่ 1000 ก่อนคริสตกาล ณ บริเวณนั้น ผู้คนเหล่านั้นได้แต่งงานกันระหว่างคนเลี้ยงปศุสัตว์และเกษตรกรชาวกูช และเล่าสืบ ๆ กันมาด้วยภาษาเขียน ชื่อ กีเอส  ชาวอาหรับยังได้เผยแพร่ทักษะการทำหินและการสร้างเขื่อนกับท่อระบายน้ำ เมื่อผสมผสานกลุ่มชาวแอฟริกาและชาวอาหรับน่าจะสร้างพื้นฐานของจักรวรรดิแห่งการค้าขายใหม่และทรงอำนาจ


กำเนิดอาณาจักรอักซุม
            อาณาจักรกูชทางแอฟริกาตอนเหนือมีประสิทธิพอที่จะยกกำลังขึ้นเหนือและพิชิตอียิปต์ ในช่วงศตวรรษต่อมา ชาวอัสซีเรีย ผู้ป่าเถื่อน ตีกวาดเข้าไปยังอียิปต์และขับไล่ฟาโรห์กูชลงไปทางใต้ แต่อย่างไรก็ตาม ชาวกูชยังดำรงอาณาอันทรงประสิทธิภาพมาได้เป็นเวลา 1,000 ปี ในที่สุด อาณาจักรอันทรงประสิทธิภาพมากกว่าก็กำเนิดขึ้นและพิชิตกูช อาณาจักรนั้นคือ อักซุม ตั้งอยู่ตอนใต้ของกูชบนที่ราบสูงอันขรุขระบนฝั่งทะเลแดง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเอริเทรียและเอธิโอเปีย


         
          ในบริเวณทวีปแอฟริกาแห่งนี้ บางครั้งเรียกว่า จะงอยแอฟริกา (Horn of Africa) พ่อค้าชาวอาหรับจากฝั่งตรงข้ามทะเลแดงเข้ามาตั้งหลักแหล่งเพื่อการค้าขาย พ่อค้าเหล่านี้เสาะแสวงหางาช้างเพื่อนำไปค้าขายในเปอร์เซียและตะวันออกไกลในการค้าขายในมหาสมุทรอินเดีย แล้วนำผ้าไหม สิ่งทอ และเครื่องเทศมาจากเส้นทางการค้าขายจากตะวันออก ในที่สุด การตั้งหลักแหล่งเพื่อการค้าขายก็กลายเป็นอาณานิคมของเกษตรกรและพ่อค้า การค้าขายกับประเทศในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนยังกระจายไปยังเมืองท่าที่ตั้งอยู่ที่นั่น

กำเนิดอักซุม
            ตำนานนับย้อนไปตั้งแต่การก่อตั้งอาณาจักรอักซุมและราชวงศ์เอธิโอเปียจนถึงโอรสของกษัตริย์โซโลมอน (หรือซาโลมอนของอิสราเอลโบราณ) กับราชินีแห่งชีบา (ประเทศในอาระเบียใต้) ราชวงศ์นั้นดำรงมาจนถึงศตวรรษที่ 20 จนกระทั่งผู้ปกครองคนสุดท้ายนามว่า เฮลี  เซลาสซี ที่สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1975 (2518)

          มีการกล่าวถึงอาณาจักรอักซุมครั้งแรกในหนังสือนำทางของชาวกรีกที่เขียนขึ้นประมาณ ค.ศ. 100 (พ.ศ. 643) เรื่อง บันทึกเส้นทางการเดินเรือในทะเลอีริทเธรียน  โดยกล่าวถึงกษัตริย์ซาสกาลีส ซึ่งคิดว่าเป็นกษัตริย์องค์แรกของอักซุม พระเป็นองค์เป็น "ผู้ยึดติดกับทรัพย์สมบัติของพระองค์และมักจะ [โลภ] ยึดครองให้มากขึ้น ๆ แต่ในแง่อื่น ๆ เป็นคนดีและมีประสบการณ์ด้านการอ่านและการเขียนภาษากรีกเป็นอย่างดี" ภายใต้การปกครองของซากาลีสและผู้ปกครองคนอื่น ๆ อาณาจักรอักซุมได้ยึดพื้นที่ตามแนวทะเลแดงและแม่น้ำบลูไนล์ในแอฟริกา  ผู้ปกครองเหล่านั้นยังเดินทางข้ามทะเลแดงและควบคุมดินแดนบนคาบสมุทรอาหรับตะวันตกเฉียงใต้ด้วย

อาณาจักรอักซุมควบคุมการค้าขายนานาชาติ
            ทำเลและการขยายตัวของอาณาจักรอักซุมทำให้เป็นจุดศูนย์กลางการเดินทางเป็นกลุ่ม ๆ ไปยังอียิปต์และมีโร การเข้าถึงการค้าทางทะเลในทะเลเมดิเตอเรเนียนและมหาสมุทรอินเดียช่วยให้อาณาจักรอักซุมมีอำนาจด้านการค้าขายระหว่างประเทศ เหล่าพ่อค้าจากอียิปต์ อาระเบีย เปอร์เซีย อินเดีย และจักรวรรดิโรมันมารวมกันที่เมืองท่าสำคัญ  ชื่อ อะดูลิส ใกล้เมืองมาสซาวาในปัจจุบัน



         เหล่าพ่อค้าชาวอักซุมค้าขายสิ่งที่จำเป็น เช่น เกลือ และสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น นอแรด กระดองเต่า งาช้าง มรกต และทองคำ ในทางกลับกัน พวกเขาก็คัดเลือกสินค้าต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า แก้ว น้ำมันมะกอก ไวน์ ทองเหลือง เหล็ก และทองแดงที่นำเข้ามาจำหน่าย  

อาณาจักรอักซุม

A Strong Ruler Expands the Kingdom
The kingdom of Aksum reached its height between A.D. 325 and 360, when an exceptionally strong ruler, Ezana, occupied the throne. Determined to establish and expand his authority, Ezana first conquered the part of the Arabian peninsula that is now Yemen. Then, in 330, Ezana turned his attention to Kush, which already had begun to decline. In 350, he conquered the Kushites and burned Meroë to the ground.

An International Culture Develops
From the beginning, Aksumites had a diverse cultural heritage. This blend included traditions of the Arab peoples who crossed the Red Sea into Africa and those of the Kushite peoples they settled among. As the kingdom expanded and became a powerful trading center, it attracted people from all over the ancient world.

The port city of Adulis was particularly cosmopolitan. It included people from Aksums widespread trading partners, such as Egypt, Arabia, Greece, Rome, Persia, India, and even Byzantium. In the babble of tongues heard in Aksum, Greek stood out as the international language of the time, much as English does in the world today.

Aksumite Religion
The Aksumites, like other ancient Africans, traditionally believed in one god. They called their god Mahrem and believed that their king was directly descended from him. They were also animists, however, and worshiped the spirits of nature and honored their dead ancestors. They offered sacrificesoften as many as a dozen oxen at a timeto those spirits, to Mahrem, and often to the Greek god of war, Ares.

Merchants exchanged more than raw materials and finished goods in Aksum. They shared ideas as well. One of these ideas was a new religion, Christianity. Based on the teachings of Jesus and a belief in one GodmonotheismChristianity began in Palestine about A.D. 30. It spread throughout the Roman Empire and then to Africa, and eventually to Aksum.
           
Aksum Becomes Christian
Ezana succeeded to the throne as an infant after the death of his father. While his mother ruled the kingdom, a young Christian man from Syria who had been captured and taken into the court educated him.

ผู้ปกครองที่แข็งแกร่งขยายอาณาจักร
อาณาจักรอักซุมเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ระหว่าง ค. ศ. 325 ถึง 360 (พ.ศ. 868 ถึง 903) เมื่อผู้ปกครองที่เข้มแข็งเป็นพิเศษอย่างเอซานา ได้ขึ้นครองบัลลังก์  ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างและขยายอำนาจ อันดับแรก เอซานาได้พิชิตส่วนหนึ่งของคาบสมุทรอาหรับที่ปัจจุบันนี้คือเยเมน จากนั้นในปี ค.ศ. 330 (พ.ศ. 873) เอซานาก็หันมาสนใจอาณาจักรกูล ซึ่งเริ่มเสื่อมความเจริญลงแล้ว ใน ค.ศ. 350 (พ.ศ. 893) เอซานาก็พิชิตชาวกูช และเผาเมืองมีโรจนราพนาสูร


การพัฒนาวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
จากจุดเริ่มต้น ชาวกูชมีมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย การผสมผสานนี้รวมถึงประเพณีของชาวอาหรับที่ข้ามทะเลแดงเข้าสู่แอฟริกากับชนชาติกูชที่ตั้งรกรากอยู่ เมื่อราชอาณาจักรขยายตัวและกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่มีประสิทธิภาพก็ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกสมัยโบราณ



เมืองท่าอะดูลิสมีผู้คนจากหลากหลายชาติเป็นพิเศษ ประกอบด้วยผู้คนที่มาจากผู้ร่วมค้าขายไปทั่วอาณาจักรอักซุม เช่น อียิปต์ อารเบีย กรีซ โรม เปอร์เซีย อินเดียและแม้แต่บิแซนเทียม ในภาษาเปล่งเสียงภาษาที่ได้ยินกันในอักซุม ภาษากรีกเป็นภาษาที่เด่นชัดในฐานะเป็นภาษาต่างประเทศในยุคนั้น มากพอ ๆ กับที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เด่นชัดในโลกปัจจุบันนี้


ศาสนาของชาวอักซุม
ชาวอักซุมเหมือนกับชาวแอฟริกันยุคโบราณอื่น ๆ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียวมาแต่ดั้งเดิม พวกเขาเรียกว่าพระเจ้าของตนเองว่า  Mahrem (มาห์เรม) และเชื่อว่ากษัตริย์ของพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขายังเป็นพวกนับถือผี และบูชาวิญญาณของธรรมชาติและเคารพบรรพบุรุษที่ตายแล้ว พวกเขาถวายเครื่องบูชายัญ ซึ่งมากเท่ากับวัวหนึ่งโหลบ่อย ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ให้กับผีเหล่านั้น และให้กับเทพเจ้า Mahrem และบ่อยครั้งที่ให้กับแอรีส เทพเจ้าแห่งสงครามกรีก

เหล่าพ่อค้ามีการแลกเปลี่ยนกันมากกว่าวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปในอักซุม พวกเขาแลกเปลี่ยนความคิดด้วย แนวความคิดหนึ่งในบรรดาแนวคิดเหล่านี้เป็นศาสนาใหม่ คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาคริสต์มีพื้นฐานมาจากคำสอนของพระเยซูคริสต์และความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว กำเนิดขึ้นในปาเลสไตน์เมื่อประมาณ ค.ศ. 30 (พ.ศ. 573) แล้วเผยแพร่ไปทั่วจักรวรรดิโรมันและต่อไปยังแอฟริกาและในที่สุดก็ถึงอาณาจักรอักซุม


อาณาจักรอักซุมหันไปนับถือศาสนาคริสต์
            เอซานาขึ้นครองราชย์ในขณะที่ยังเป็นทารกหลังจากพระบิดาสิ้นพระชนม์ ในขณะที่พระมารดาของท่านปกครองอาณาจักร ชายหนุ่มชาวคริสต์คนหนึ่งที่เดินทางมาจากซีเรียซึ่งถูกจับและพาขึ้นศาล ได้ให้การศึกษาแก่ท่าน

อาณาจักรอักซุม

When Ezana finally became ruler of Aksum, he converted to Christianity and established it as the kingdoms official religion. He vowed, I will rule the people with righteousness and justice and will not oppress them, and may they preserve this Throne which I have set up for the Lord of Heaven.” King Ezanas conversion and his devout practice of Christianity strengthened its hold in Aksum. The establishment of Christianity was the longest lasting achievement of the Aksumites. Today, the land of Ethiopia, where Aksum was located, is home to millions of Christians.

           
Aksumite Innovations
The inscription on Ezanas stele is written in Geez, the language brought to Aksum by its early Arab inhabitants. Aside from Egypt and Mero, Aksum was the only ancient African kingdom known to have developed a written language. It was also the first state south of the Sahara to mint its own coins. Made of bronze, silver, and gold, these coins were imprinted with the saying,May the country be satisfied.” Ezana apparently hoped that this inscription would make him popular with the people. Every time they used a coin, it would remind them that he had their interests at heart.


In addition to these cultural achievements, the Aksumites adapted creatively to their rugged, hilly environment. They created a new method of agriculture, terrace farming. This enabled them to greatly increase the productivity of their land. Terraces, or steplike ridges constructed on mountain slopes, helped the soil retain water and prevented its being washed downhill in heavy rains. The Aksumites dug canals to channel water from mountain streams into the fields. They also built dams and cisterns, or holding tanks, to store water.      

          ในที่สุดขณะที่เอซานาขึ้นครองอาณาจักรอักซุม ท่านก็เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์และสถาปนาศาสนาคริสต์ขึ้นเป็นศาสนาทางการของอาณาจักร ท่านปฏิญาณว่า “ข้าจะปกครองประชาชนด้วยความถูกต้องและความยุติธรรมทั้งจะไม่กดขี่ข่มเหงประชาชนเหล่านั้น และขอให้ประชาชนเหล่านั้นจงปกปักรักษาบัลลังก์นี้ที่ข้าสถาปนาขึ้นเพื่อพระผู้เป็นเจ้า”  การเปลี่ยนศาสนาและการอุทิศตนปฏิบัติตามคริสต์ศาสนาของกษัตริย์เอซานาทำให้ศาสนาคริสต์เกิดความเข้มแข็งในอาณาจักรอักซุม การสถาปนาศาสนาคริสต์คือความสำเร็จที่ดำรงอยู่ยาวนานที่สุดของชาวอักซุม ปัจจุบัน ดินแดนเอธิโอเปีย ซึ่งเป็นที่ตั้งอาณาจักรอักซุม ยังเป็นที่อยู่อาศัยของชาวคริสต์หลายล้านคน


นวัตกรรมของชาวอักซุม
            ข้อความที่จารึกไว้บนหลักศิลาจารึกของเอซานา เขียนไว้เป็นภาษากีเอส ซึ่งเป็นภาษาที่เหล่าผู้ตั้งหลักแหล่งชาวอาหรับยุคแรกนำเข้าไปยังอาณาจักรอักซุม นอกจากอียิปต์และมีโรแล้ว อักซุมเป็นอาณาจักรแอฟริกาโบราณแห่งเดียวเท่านั้นที่พัฒนาภาษาเขียนขึ้นมา และยังเป็นรัฐแห่งแรกที่อยู่ใต้ทะเลทรายสะฮาราที่ประดิษฐ์เหรียญกษาปณ์เป็นของตนเอง เหรียญกษาปณ์เหล่านี้ทำจากทองสัมฤทธิ์ เงิน และทองคำ ประทับคำพูดไว้ว่า “ขอให้ประเทศจงมีแต่ความสุขใจ” เอซานายังมีความหวังอย่างชัดแจ้งว่าข้องความจารึกนี้น่าจะทำให้พระองค์เป็นที่นิยมชมชอบของประชาชน ทุก ๆ ครั้งที่ประชาชนใช้เหรียญกษาปณ์ มันจะเตือนสติประชาชนเหล่านั้นว่าพระองค์เอาใจใส่พวกเขาด้วยความจริงใจ

          นอกเหนือจากความสำเร็จทางด้านวัฒนธรรมเหล่านี้แล้ว ชาวอักซุมก็ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เนินเขาอันขรุขระอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการสร้างวิธีทำเกษตรกรรมแบบใหม่ คือ การทำนาขั้นบันได การทำเช่นนี้ทำให้เพิ่มผลผลิตจากที่ดินทำกิน ระเบียบแบบขั้นบันได หรือสันเขาที่เป็นขั้นบันไดที่สร้างบนที่ลาดเอียงของภูเขา ช่วยให้ดินรักษาน้ำไว้และป้องกันไม่ให้น้ำชะล้างลงด้านล่างเวลาฝนตกหนัก ชาวอักซุมได้ขุดคลองเพื่อนำกระแสน้ำจากภูเขาไปยังทุ่งนา และยังสร้างเขื่อนกับที่เก็บขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้



มงกุฎอักซุม
Aksum Crown This is an early crown from the kingdom of Aksum.
มงกุฎอักซุม  ภาพนี้เป็นภาพของมงกุฎของอาณาจักรอักซุมยุคแรก

The Fall of Aksum
Aksums cultural and technological achievements enabled it to last for 800 years. The kingdom finally declined, however, under invaders who practiced the religion called Islam. Its founder was the prophet Muhammad; by his death in 632, his followers had conquered all of Arabia.This territory included Aksums lands on the Arabian coast of the Red Sea.


Islamic Invaders
Between 632 and 750 Islamic invaders conquered vast territories in the Mediterranean world, spreading their religion as they went.  Aksum protected Muhammads family and followers during their rise to power. As a result, initially they did not invade Aksums territories on the African coast of the Red Sea. Retaining control of that coastline enabled Aksum to remain a trading power.


Before long, though, the invaders seized footholds on the African coast as well. In 710 they destroyed Adulis. This conquest cut Aksum off from the major ports along both the Red Sea and the Mediterranean. As a result, the kingdom declined as an international trading power. But it was not only Aksums political power that weakened. Its spiritual identity and environment were also endangered.

           
Aksum Isolated
As the invaders spread Islam to the lands they conquered, Aksum became isolated from other Christian settlements. To escape the advancing wave of Islam, Aksums rulers moved their capital over the mountains into what is now northern Ethiopia. Aksums new geographic isolationalong with depletion of the forests and soil erosionled to its decline as a world power.

Although the kingdom of Aksum reached tremendous heights and left a lasting legacy in its religion, architecture, and agriculture, it never expanded outside a fairly small area. This is a pattern found in other cultures, both in Africa and around the world.           

การล่มสลายของอาณาจักรอักซุม
            ความสำเร็จด้านวัฒนธรรมและเทคโนโลยีของอักซุมสามารถทำให้อาณาจักรดำรงอยู่เป็นเวลา 800 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ในที่สุด อาณาจักรอักซุมก็เสื่อมลงภายใต้การปกครองของผู้รุกรานที่นับถือศาสนาอิสลาม ผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลาม คือ ศาสนดามุฮัมมัด เมื่อท่านเสียชีวิตในปี ค.ศ. 632 (พ.ศ. 1175) เหล่าสานุศิษย์ของท่านก็พิชิตอาหรับทั้งหมด ดินแดนแห่งนี้รวมทั้งดินแดนของอักซุมบนชายฝั่งทะเลแดงด้านอาหรับ

เหล่าผู้รุกรานชาวอิสลาม
            ระหว่างปี ค.ศ. 632 – 750  (พ.ศ. 1175 – 1293) เหล่าผู้รุกรานชาวอิสลามได้พิชิตดินแดนอันกว้างขวางในโลกแห่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พร้อมทั้งเผยแพร่ศาสนาไปด้วย อาณาจักรอักซุมได้ป้องกันวงศาคณาญาติและเหล่าสานุศิษย์ของมุฮัมมัดในช่วงที่พวกเขาครองอำนาจ  เป็นผลให้ในขั้นแรกคนเหล่านั้นไม่รุกรานดินแดนอักซุม บนฝั่งทะเลแดงด้านแอฟริกา การควบคุมรักษาแนวชายฝั่งทะเลแห่งนั้นทำให้อักซุมยังคงมีอำนาจในการค้าขาย


         อย่างไรก็ตาม ในอีกไม่นาน เหล่าผู้รุกรานก็ยึดฐานที่มั่นทางธุรกิจบนชายฝั่งแอฟริกาอีกด้วย ในปี ค.ศ. 710 (พ.ศ. 1253) พวกเขาก็ทำลายเมืองท่าอะดูลิส การพิชิตครั้งนี้ได้ตัดอาณาจักรอักซุมออกจากท่าเรือหลัก ๆ ทั้งฝั่งทะเลแดงและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นผลให้อาณาจักรสูญสิ้นลงในฐานะอำนาจทางการค้าขายนานาชาติ  แต่ไม่ใช่เพียงแต่อำนาจทางการเมืองของอักซุมเท่านั้นที่อ่อนแอลง เอกลักษณ์ทางจิตวิญญาณและสิ่งแวดล้อมก็สูญสิ้นไปด้วย


อาณาจักรอักซุมแยกตัวอยู่โดดเดี่ยว
            ในขณะที่ผู้รุกรานเผยแพร่ศาสนาอิสลามไปยังดินแดนที่พวกเขาพิชิตได้ อาณาจักรอักซุมก็แยกตัวออกไปอยู่โดดเดี่ยวจากเหล่าผู้ตั้งหลักแหล่งชาวคริสต์อื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงคลื่นการเดินทัพของอิสลาม เหล่าผู้ต้องปกครองชาวอักซุมก็ย้ายเมืองหลวงข้ามภูเขาไปยังสถานที่ที่เป็นประเทศเอธิโอเปียตอนเหนือในปัจจุบัน  การแยกตัวออกในทางภูมิศาสตร์ใหม่ของอักซุม ตามมาด้วยการขาดแคลนป่าและการกัดกร่อนหน้าดิน นำไปสู่การล่มสลายในฐานะเป็นอำนาจของโลก

          แม้ว่าอาณาจักรอักซุมจะเจริญรุ่งเรืองถึงจุดสุดยอดและทิ้งมรดกอันถาวรในด้านศาสนา สถาปัตยกรรม และเกษตรกรรม แต่ก็ไม่เคยแผ่ขยายออกไปนอกบริเวณค่อนข้างเล็ก ๆ นี่เป็นรูปแบบที่พบได้ในวัฒนธรรมอื่น ๆ ทั้งในแอฟริกาและทั่วโลก








เสาศิลาแห่งอักซุม

Pillars of Aksum
Aksumites developed a unique architecture. They put no mortar on the stones used to construct vast royal palaces and public buildings. Instead, they carved stones to fit together tightly. Huge stone pillars were erected as monuments or tomb markers. The carvings on the pillars are representations of the architecture of the time.

The towering stone pillar, or stele, was built to celebrate Aksums achievements. Still standing today, its size and elaborate inscriptions make it an achievement in its own right. It has many unique features:
               
               
- False doors, windows, and timber beams are carved into the stone.

- Typically, the top of the pillar is a rounded peak.

- The tallest stele was about 100 feet high. Of those steles left standing, one is 60 feet tall and is among the largest structures in the ancient world.

- The stone for the pillar was quarried and carved two to three miles
away and then brought to the site.

Ezana dedicated one soaring stone pillar to the Christian God, the
Lord of heaven, who in heaven and upon earth is mightier than
everything that exists.”          

เสาศิลาแห่งอักซุม
                ชาวอักซุมได้พัฒนาสถาปัตยกรรมเป็นพิเศษ โดยไม่ได้ใส่ส่วนผสมของปูนขาวหรือซีเมนต์กับทรายและน้ำบนก้อนหินที่ใช้ก่อสร้างพระราชวังและสิ่งก่อสร้างสาธารณะ พวกเขาแกะสลักหินให้วางเข้ากันอย่างพอเหมาะพอดี เสาหินมหึมาถูกสร้างเป็นอนุสาวรีย์หรือเครื่องหมายสุสาน การแกะสลักบนเสาหินเป็นตัวแทนแห่งสถาปัตยกรรมแห่งยุค

         
         เสาศิลาหรือแผ่นศิลาจารึกที่ตั้งตระหง่านนี้ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของอาณาจักรอักซุม ปัจจุบันยังคงตั้งตระหง่านอยู่ ขนาดของเสาและข้อความที่จารึกอันซับซ้อนสร้างความสำเร็จด้วยความสามารถของตัวมันเอง มีลักษณะพิเศษมากมาย ดังนี้:

- มีประตู หน้าต่าง และคานไม้เทียมสลักเข้าไปในหิน

- ปกติด้านบนของเสาจะเป็นยอดกลม


- เสาศิลาจารึกที่สูงที่สุด สูงประมาณ 100 ฟุต ในบรรดาเสาศิลาจารึกที่ยังคงเหลืออยู่เหล่านี้ เสาหนึ่งสูง 60 ฟุตและเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในโลกโบราณ

- หินที่ทำเสาขุดได้จากเหมืองแร่และแกะสลักอยู่ไกลออกไป 2 – 3 ไมล์แล้วจึงนำมายังสถานที่นั่น

         กษัตริย์เอซานาได้อุทิศเสาศิลาที่สูงตระหง่านเสาหนึ่งให้กับพระเป็นเจ้าในศาสนาคริสต์ ว่า “พระเป็นเจ้า ที่อยู่ในสวรรค์และบนโลกยิ่งกว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่”